สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอรายงานเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ 23 ก.ค. 64 ดังนี้
1. การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.3 ต่อปี
2. รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวร้อยละ 54.9 ต่อปี
3. ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 เกินดุลจำนวน 23,132 ล้านบาท
4. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี
5. ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 ต่อปี
6. มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 43.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 53.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
7. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ 5,694 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100.0 ต่อปี
8. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
9. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทยการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 276,298 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.3 ต่อปี ทาให้ 9 เดือนแรกเบิกจ่ายได้ 2,389,166 ล้านบาท หดตัวร้อยละ −1.7 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ ร้อยละ 68.2 โดย
(1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 266,444 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.6 ต่อปี คิดเป็นอัตรา เบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 67.8 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจา 217,784 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 29.8 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมท่ีร้อยละ 73.7 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 48,660 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 13.9 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม ที่ร้อยละ 43.7
(2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 9,854 ล้านบาท หดตัวร้อยละ −1.7 ต่อปี คิดเป็น อัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 74.5 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 ได้ 293,030 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 54.9 รายได้รวม 3 กรมจัดเก็บต่อปี ทาให้ 9 เดือนแรกจัดเก็บได้ 1,738,160 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี

โดยรายได้ขยายตัวจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ ขยายตัวร้อยละ 85.3 ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขยายตัวร้อยละ 44.2 ต่อปี และภาษีกรมสรรพสามิต ขยายตัวร้อยละ 40.0 ต่อปี จากการเลื่อนการชาระ ภาษีเบียร์ และภาษีรถยนต์ รวมทั้งการขยายเวลาการ ยื่นแบบแสดงรายการและชาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน มิ.ย. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจานวน 23,132 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อรวมกบั ดลุนอกงบประมาณที่เกินดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล −6,532 ล้านบาท โดย ในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกู้เงิน 99,000 ล้านบาท ทาให้ ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล −92,468 ล้านบาท ทั้งนี้ จานวนเงินคงคลังอยู่ที่ 460,366 ล้านบาท

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับ ราคาคงที่ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ตัวที่ร้อยละ 7.4
โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากใช้จ่ายภายในประเทศ หดตัวที่ร้อยละ -12.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
ปัจจัยฐานสูง เนื่องจากปีที่แล้วมีการขยายเวลา
การยื่นแบบชาระภาษีมลูค่าเพิ่มสาหรับเดือน ภาษี มี.ค. 63 และ เม.ย. 63 ออกไป ส่งผลให้ ภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนถูกนามาคานวณในเดือน ภาษี พ.ค. 63 และ มิ.ย. 63
การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ทาให้การเดินทางและ การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงส่งผลให้การ จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง อย่างไรก็ดีภาษีมลูค่าเพิ่มที่จัดเกบ็จากการนำเข้า สามารถขยายตัวได้สูงที่ร้อยละ 47.0 ต่อปีจากทั้ง ปัจจัยฐานต่าในปีที่แล้ว และการนาเข้าของไทยที่ ปรับตัวดีขนึ้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ รัฐบาลจัดเก็บได้สามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี

ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ใน เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล

การจัดเก็บภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือน มิ.ย.64 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนใน เกือบทุกหมวดการจัดเก็บ โดยเฉพาะในหมวดการ จัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ของบุคคลธรรมดา ขยายตัวถึงรอ้ยละ 26.4 จากหดตัวร้อยละ -0.7 ในเดือน พ.ค.64 โดยการขยายตัว เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ยังคงได้รับผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ขณะที่ผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ที่มีความรุนแรงและขยายวงกว้างยิ่งขึ้น จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันหลักต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ลดลงและจะกระทบต่อการซื้อขายสินทรัพย์ที่มีราคาสูงอย่าง อสังหาริมทรัพย์ให้ชะลอลงตามไปด้วย

 

มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. 64 มีมูลค่า 23,699 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการ ขยายตัวที่ร้อยละ 43.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกัน ปีก่อน โดยยังคงเป็นระดับการขยายตัวที่สูงสุด ในรอบเกือบ 11 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 53
สำหรับสินค้าสำคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือน ดังกล่าว อาทิ กลุ่มผักและผลไม้ (+110%) กลุ่มอัญมณีและ เครื่องประดับ (+114%) กลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ (+79%) กลุ่มเครื่องคอมฯ (+22%) กลุ่มเครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบ (+73%) ยางพารา (+112%) ผลิตภัณฑ์ มันสาปะหลัง (+82%) น้าตาลทราย (+19%) เป็นต้น เมื่อพิจารณา จาแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า มีการขยายตัวเกือบ ทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และเอเชียใต้ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 41.2 42.0 32.3 46.5 42.8 และ 125.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่า การส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 15.5 ต่อปี

มูลค่าการนาเข้าในเดือน มิ.ย. 64 มีมูลค่า 22,754 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงที่ ร้อยละ 53.8 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการขยายตัวของกลุ่มสินค้านาเข้าสำคัญ เช่น น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วงครึ่งแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 26.2 ต่อปี สำหรับดุลการค้า ในเดือน มิ.ย. 64 ยังคง เกินดุลท่ีมูลค่า 945 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสม ของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 2,439 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย. 64 ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภท พิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ มีจานวน 5,694 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100 ต่อปี จากเดือน มิ.ย.63 นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยจำนวนข้างต้นลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการระบาด ระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศ ประกอบกับมาตรการทางสาธารณสุขที่มี การเพิ่มวันกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเป็น 14 วันเหมือนเดิม (จากเดิม 7-10 วัน) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64

โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เมียนมาร์ ตะวันออกลาง และจีน ทั้งนี้ ภาพรวมไตรมาสที่ 2 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดิน ทางเข้าไทยแล้ว 20,275 คน
ขณะที่วันที่ 1 ก.ค. 64 ได้มีการเปิดโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” และ “สมุยพลัส” เพื่อให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยโดย ไม่ต้องกักตัว ซึ่งในส่วนของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วตั้งแต่วันที่ 1-22 ก.ค. 64 จานวน 9,530 คน และมียอดการจอง ห้องพักตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย. 64 แล้วจานวน 254,700 คืน

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 64 มีจานวน 24,892 คัน ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทาง ฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 27.0
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำเนื่องจากในปีที่แล้วโรงงานบางส่วนหยุดการผลิตลง ชั่วคราวประกอบกับผู้บริโภคลดการใช้จ่าย ในสินค้าที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งภาคการผลิต ในช่วงนี้กาลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต อย่างไรก็ดี ตลาดรถยนต์ ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทรถยนต์อย่างต่อเนื่อง 

ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ใน เดือน มิ.ย. 64 มีจานวน 42,436 คัน ขยายตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทาง ฤดูกาล ตามปริมาณการจ าหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในเดือนมิ.ย.ยอดจาหน่ายรถยนตเ์ชงิพาณิชย์ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนทื่ 4  หลังยังคงไดร้บัปัจจัย บวกจากฐานที่ต่ำในปีก่อน แต่การระบาดจากโควิดรอบใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องจำกัดการดำเนินทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง คาดว่าจะทาให้ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์ในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่องอย่างไรก็ดี มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามายังพื้นที่ “ภูเก็ต แซนด์บอกซ์” การส่งออกที่ยังเติบโตตามเศรษฐกิจโลก และ ความคืบหน้าของการฉดีวัคซีนในประเทศจะยังคงเป็น ปัจจัยสนับสนุนสาคัญที่ช่วยฟื้นความเชอื่ มั่น รวมถึง การจับจ่ายให้กลับมาได้ในช่วงที่เหลือของปี 

สหรัฐฯ
ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นขยายตัว ที่ร้อยละ 6.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จาก เดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน เป็นผลจากยอดการสร้าง บ้านเดี่ยวและคอนโดที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนวัสดุก่อสร้างและขาดแคลนแรงงาน

ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน มิ.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -5.1 จาก เดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) และเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 4 เดือน โดยเป็นการปรับตัวลดลงในทุกประเภทบ้าน

ยอดขายบ้านมือสอง เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ ร้อยละ -1.2 จากเดือนกอ่ นหน้า (ขจัดผลทางฤดกู าลแล้ว) และเป็นการขยายตวั ครงั้ แรกในรอบ 5 เดือน เป็น ผลจากอุปทานในตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากยอดการสร้างบ้านใหม่ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (11-17 ก.ค. 64) อยู่ที่ 4.19 แสนราย เพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.68 แสนราย ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 เดือน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ที่อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนราย

ญี่ปุ่น
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ หดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกหลังหดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยได้ปัจจัยหนุน จากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภค ที่ฟื้นตัวตามการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19

มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 48.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ขยายตวัที่รอ้ยละ49.6จากช่วงเดยีวกันของปีก่อนโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีฐานตา่และเปน็ การขยายตัวตามตลาดการค้าโลกที่เริ่มฟื้นตัว

มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 32.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 27.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 64 กลับมาเกินดุลที่ 3.83 แสนล้านเยน หลังขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ -1.89 แสนล้านเยน

มาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ร้อยละ 4.4 เนื่องจากราคาค่าขนส่งและอาหารเป็นสำคัญ

อินโดนีเซีย
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี เพื่อสนับสนุน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19

สิงคโปร์
อัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.64อยู่ที่ร้อยละ2.4จากช่วงเดียวกันปีก่อนคงที่จากเดือนกอ่นหน้า

เกาหลีใต้
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ6.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ฮ่องกง
อัตราเงินเฟอ้เดือน มิ.ย.64 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่รอ้ยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากการมีฐานต่ำจากมาตรการสนับสนุนค่าไฟ เมื่อปีที่แล้ว

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกาลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 สะท้อนการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดี หลังจานวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทยอยปรับตัวลดลง

ไต้หวัน
อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.76 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.15 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 53 จาก การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และการยกระดับมาตรการ​ควบคุมการระบาดอีกครั้ง

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น Nikkei225 (ญ่ีปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น ในสัปดาห์นี้ดัชนี SET ปรับตัวลดงลงช่วงต้นสัปดาห์ และทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นจนถึงช่วงปลาย สัปดาห์ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 64 ดัชนีปิดท่ีระดับ 1,552.38 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค. 64 อยู่ที่ 75,764.07 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันท่ี 19-22 ก.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -3,983.62 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ากว่า 7 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วง 1-2 bps ขณะที่อายุ 7 ปีขึ้นโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -11 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.8 และ 3.8 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค. 64 กระแสเงินทุนของ นักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 8,204.36 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 22 ก.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 61,268.38 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 22 ก.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 32.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.62 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ท่ีปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงิน สกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.28 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators




Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง